--- Main Menu
หน้าหลัก
จัดการคน
ข้อมูลพรรณไม้,พืชสมุนไพรและสิ่งมีชีวิต
หน้าเว็บ
ออกจากระบบ
หน้าหลัก
แบบสำรวจข้อมูลของพรรณไม้,สมุนไพรและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ข้อมูลพืชสมุนไพร
แก้ไขข้อมูล
แก้ไขข้อมูลพืชสมุนไพร
ชื่อภาพ:
ชื่อภาพ:
ชื่อภาพ:
ชื่อภาพ:
ชื่อไทย
ชื่อในท้องถิ่นที่สำรวจ
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อวงศ์
ลักษณะต้น
ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา
ลักษณะใบ
ใบกัดลิ้น มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า
ลักษณะดอก
ดอกกัดลิ้น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่ง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ดอกกัดลิ้นมีขนาดเล็ก มีกลบเลี้ยง 5 กลีบมีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีขนสั้น ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวนวล ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานปลายมน มีความยาวประมาณ 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ด้านนอกมีขนสั้น มีเกสรตัวผู้ 10 อัน
ลักษณะผล
ผลกัดลิ้น ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกผลจะเป็นสีเหลือง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อนๆ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยเมล็ดมีลักษณะกลม มีเยื่อนุ่มๆ หุ้มเมล็ดอยู่
ลักษณะวิสัย
การใช้ประโยชน์
ราก ช่วยขับลมในลำไส้ เปลือก ช่วยห้ามเลือด ใช้ชำระล้างบาดแผล ช่วยสมานบาดแผล
แก้ไขข้อมูล