--- Main Menu
หน้าหลัก
จัดการคน
ข้อมูลพรรณไม้,พืชสมุนไพรและสิ่งมีชีวิต
หน้าเว็บ
ออกจากระบบ
หน้าหลัก
แบบสำรวจข้อมูลของพรรณไม้,สมุนไพรและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ข้อมูลพืชสมุนไพร
แก้ไขข้อมูล
แก้ไขข้อมูลพืชสมุนไพร
ชื่อภาพ:
ชื่อภาพ:
ชื่อภาพ:
ชื่อภาพ:
ชื่อไทย
ชื่อในท้องถิ่นที่สำรวจ
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อวงศ์
ลักษณะต้น
ไม้ล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นหัว ลำต้นสีแดง อวบน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.1 – 15.1 มิลลิเมตร สูง 135 – 190 เซนติเมตร
ลักษณะใบ
ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้น รูปร่างใบกึ่งรูปขอบขนานกึ่งใบรูปหอก (oblong – lanceolate) ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ยาว 20.5 – 29.6 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด ช่อดอกสีแดงยาว 7.6 – 11.6 เซนติเมตร
ลักษณะดอก
มีดอกย่อย 19 – 42 ดอก กลีบดอกสีขาวแกมสีชมพูหรือเหลือง อับเรณูสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อและใช้เมล็ด ชอบขึ้นบริเวณที่ชุ่มชื้นใต้ต้นไม้ใหญ่ริมน้ำหรือริมหนองบึงเชิงเขาทั่วทุกภาคของประเทศ
ลักษณะผล
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม ผลมีขนาดยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ผลเมื่อแห้งแล้วจะแตก มีเนื้อแข็ง สุกสีแดงสด ปลายยอดมีกลีบเลี้ยง 1 กลีบ หรืออยู่เป็นกระจุกแหลม 3 แฉก กาบหุ้มผลเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดสีดำเป็นมัน
ลักษณะวิสัย
การใช้ประโยชน์
เอื้องหมายนาเป็นดอกไม้ที่นิยมตัดประดับแจกันทั้งต้นที่มีช่อดอกเนื่องจากทั้งต้นและกาบประดับสวยงามแปลกตา นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ประดับอีกด้วย นอกจากนั้นยังใช้เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ สมุนไพร ลำต้นใต้ดินหรือเหง้ามีรสขมเมา ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ตกขาว แก้โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แก้แผลหนอง อักเสบ บวม ฆ่าพยาธิ เป็นยาถ่าย เหง้าสดมีพิษมาก ใช้ในปริมาณมากจะทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง ต้องทำให้สุกก่อน ราก รสขมเมา ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง เหง้า ตำพอกบริเวณสะดือ รักษาโรคท้องมาน ในเหง้าพบสาร diosgenin มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์
แก้ไขข้อมูล